การประชุมการวางแผนและทบทวนประจำปีของวิถีการเปลี่ยนแปลง วันที่ 6-09 ก.พ. 2566
“Transformative Partway” Annual Planning and Review meeting, จัดขึ้นที่โรงแรมฟูราม่า จังหวัดเชียงใหม่
เนื่องด้วยการประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกของภาคีที่ได้รับการสนับสนุนโครงการในการดำเนินงาน ซึ่งมี Forest People Programme(FPP) และ AIPP ร่วมกับสมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน(PASD) และสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย(IMPECT) เป็นผู้จัด และได้รับการสนับสนุนจากแผนงานปกป้องสภาพภูมิอากาศระดับสากล (International Climate Initiative: IKI) และกระทรวงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเยอรมัน รัฐบาลเยอรมันให้สนับสนุน ภายใต้ชื่อวิถีแห่งการเปลี่ยนแปลง: กลุ่มชาติพันธุ์/ชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการความ หลากหลายทางชีวภาพที่ยั่งยืนให้กับ 6 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย เค็นยา เปรู ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม ชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยและชุมชนท้องถิ่นได้ปฏิบัติในฐานะผู้พิทักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะในที่ดินที่พวกเขาดูแลจัดการ ที่ดินเหล่านี้อย่างน้อยก็เป็นหนึ่งในสี่ของที่ดินรวมทั้งหมดของโลก และซ้อนทับกับพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญ ที่ดินเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) และเป็นที่กักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ
อย่างไรก็ตาม การมีส่วนทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่มีศักยภาพของชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยและชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนมักจะไม่ได้รับการยอมรับอย่างเพียงพอและควรได้รับการสนับสนุนที่ดีกว่านี้ โครงการจะให้การสนับสนุนการปรับปรุงการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของความหลากหลายทางชีวภาพโดยให้แน่ใจว่าการมีส่วนของชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยและชุมชนท้องถิ่นจักได้รับการยอมรับ การสนับสนุนและขยายพื้นที่มากขึ้น
โครงการนี้นำความร่วมมือของบรรดาหุ้นส่วนอันมีลักษณะโดดเด่นมาร่วมกันเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน และขยายงานที่ทำลุล่วงแล้วในระดับชาติ และในเกิดผลกระทบระดับโลกและการถ่ายทอดความรู้ ศูนย์สหวิทยาการเพื่อศาสตร์เชิงอนุรักษ์แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด (ICCS) จะให้การสนับสนุนในระดับพื้นที่ในการวางแผน การดำเนินงาน และการกำกับติดตามยุทธศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ และในการรายงานผลลัพธ์ การทำงานร่วมโดยตรงกับหุ้นส่วนระดับชาติและท้องถิ่น ศูนย์กำกับติดตามการอนุรักษ์โลก ของแผนงานสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (WCMC UNEP) จะนำความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาตัวชี้วัดของตนมาจัดทำโครงการ สนับสนุนการพัฒนาตัวชี้วัดทางชีวภาพและวัฒนธรรม และให้เกิดความร่วมมือกันและซ้อนเหลื่อมกับงานหุ้นส่วนตัวชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพ (BIP) มูลนิธิเพื่อการประสานความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมืองเอเชีย (AIPP) จะร่วมงานกับระดับชาติในเวียดนาม
ประเทศไทย
ประเด็นที่มุ่งเน้น: โครงการจะดำเนินการกับชุมชนจำนวน 23 หมู่บ้าน (ทางการ) 65 หย่อมบ้านในพื้นที่ 3 ลุ่มน้ำย่อย ใน 2 จังหวัด คือ เชียงใหม่ และเชียงราย ภาคเหนือของประเทศไทย และงานด้านนโยบายในระดับชาติ
ได้ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล สถานการณ์ ต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น ทฤษฏีการเปลี่ยนแปลง อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ(CBD) GBF กรอบการติดตามการดำเนินงานในระดับชาติ การพัฒนาตัวชี้วัดระดับทอ้งถิ่น การติดตามระบบสารสนเทศความกลากหลายชีวภาพโดยชุมชน(CBMIS) นโยบายการอนุรักษ์ในระดับโลก ความสำคัญในแผนงานในระดับท้องถิ่นระดับชาติ ดูวีดีทัศน์ชนเผ่าพื้นเมือง และได้เข้าไปดูชุมชนต้นแบบในพื้นที่จริง เช่น บ้านหินลาดใน และบ้านแม่จันใต้ จังหวัดเชียงราย