เมื่อถึงกำนดการประชุม CBD-COP จะมีตัวแทนชนเผ่าพื้นเมืองทุกภูมิของโลก ได้มีการจัดประชุมเวทีชนเผ่าพื้นเมืองนานาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (IIFB) ก่อนที่รัฐจะมีการประชุม IIFB เตรียมความพร้อมด้านเนื้อหา แลกเปลี่ยนสถานการณ์ของชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น (IPLC) ที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคของโลกว่า รัฐได้มีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่เกิดจากเวทีสมัชชารัฐภาคีครั้งที่ 15 (CBD-COP15) แม้ CBD เป็นกลไกของรัฐ แต่ก็มีช่องว่างมากมาย ที่มีต่อชนเผ่าพื้นเมือง ชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น(IPLC) เข้าร่วมเพื่อได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของรัฐที่ได้มีต่อข้อตกลงกรอบงานความหลากหลทางทางชีวภาพ(ขุนหมิ่ง มอนทรีอัล KM-GBF) แต่ละเป้าหมาย/ประเด็นอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะที่เชื่อมโยงกับสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่ง IIFB ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อติดตาม ประเด็นต่าง 9 ประเด็นหลัก (การเข้าถึงข้อมูล,ตัวชี้วัด, การระดมทุนและทรัพยากร, กรอบงานความหลากหลายขุนหมิ่ง-มอลทรีอัล เป้าหมายที่3, การสื่อสาร, การแก้ไข CBD, แผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (NBSAP), การใช้อย่างยั่งยืน,) เพื่อเท่าทันเนื้อหาที่รัฐมีต่อประเด็นนั้น มาเล่าให้ที่ประชุมรับทราบ ซึ่งมีประธานประชุม ประธานร่วม ซึ่งควบคุประเด็น และรับฟังความเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม อีกทั้งกลั่นครองข้อความการแถลงการณ์ (Statement) IIFB ได้ประชุมกันทุกเช้าก่อนที่จะแยกย้ายเข้าร่วมเวทีคู่ขนานย่อยต่าง ๆ ร่วมถึงฟังการประชุมของรัฐภาคี เวที IIFB เป็นพื้นที่เรียนรู้และสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกันในชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นได้เป็นอย่าง และเหมือนความเป็นพี่น้องรู้ใจในประปัญหาที่เผชิญอยู่ร่วมกัน อบอ่นไม่มีการแบ่งแยกใด ๆ
CBD-COP16 มีการนำเนื้อหาพิจารณาเรื่องการจัดตั้งกลไกถาวรสำหรับคณะทำงาน CBD มาตรา 8(j) ประเด็นย่อยมากมาย ขึงต้องมีคณะติดตามเฉพาะประเด็นนั้น (Contact Group1,2,3… ) หลายคณะการแบ่งกันติดตามและเจรจาต่อรองในกลุ่มนั้น แล้วนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ การนำเสนอความคืบหน้าแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวถาพ (NBSAP) การผลักดันเป้าหมายข้อตกลงเป้าหมาย (KM-GBF) ให้เกิดผลต่อการปกป้องรักษาความหลากหลายทางชีวภาพบรรลุเป้าหมาย ในปี 2050 การเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์นอกพื้นที่คุ้มครอง(OECM) สนัสนุนเป้าหมายที่ 3 สร้างพื้นที่อนุรักษ์ 30X30 ในปี 2030 ซึ่งตลอดการประชุมได้มีการ่วมกันพิจารณาเอกสารตามที่สำนักงานเลขาธิการจัดไว้ในเว็ปซ์ของ CBD ตัวชีวัดองค์ความรู้ชนเผ่าพื้นเมือง ที่รัฐจะต้องทำรายงานแห่งชาติทุก 2 ปี ชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งหนวยงานนานาชาติ หน่วยงานที่ปรึกษาCBD ให้ความเห็นต่อ COP ได้เป็ช่วง ๆ การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากธรรมชาติ รวมถึงการเชือมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การระดมทุนเพื่อปกป้องความหลากหลายทาชีวภาพ และหลายประเทศที่ได้มีผู้บริหารระดับสูงนัดประชุมระดับทวิภาคีกันอีกมากมาย มีหลายประเทศอยู่แสดงออกต่อการยืนหยัดเคียงข้างสนัสนุนชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น แต่ยังบางประเทศที่สะท้อนถึงทัศคติที่ไม่ต่อชนเผ่าพื้นเมืองอยู่
ข้อความแถลงของ IIFB ต่อที่ประชุม ดังนี้
การบริหารจัดการธรรมาภิบาลที่ดี ต้องให้ชนเผ่าพื้นเมืองมีส่วนร่วม เนื่องจากชนเผ่าพื้นเมืองมีความรู้ สามารถสร้างนวัตกรรมมาใช้ในพื้นที่ของเราได้ การเป็นภาคีคือเราต้องเท่าเทียมกัน เสมือนหนึ่งว่าถ้าท่านเป็นผู้อำนวยการในองค์กร เราก็เป็นผู้อำนวยการในเรื่องป่าและทรัพยากรธรรมชาติได้
“ชนเผ่าพื้นเมืองมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยาความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นแหล่งทุนภายนอกจะต้องรับรู้ว่าทรัพยากรที่เหลืออยู่ จะอยู่ในพื้นที่ชนเผ่าพื้นเมือง และเราใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เราเป็นผู้ทรางสิทธิ์อย่างแท้จริง การถ่ายทอดองค์ความรู้ คำนึงถึงความเท่าเทียมจากรุ่นสู่รุ่น ต้องมีการเคารพในที่ดินและเขตแดนของเรา การกระทำใด ๆ จะต้องการบอกแจ้งล่วงอย่างอย่างในการขอฉันทานุมัติ (FPIC) และการระดมทุนจะต้องให้เงินเราเป้นก้อน ไม่ใช่ให้ทีละเล็กทีละน้อย ต้องมีความเข้าใจธรรมชาติและมนุษย์”
การดำเนินแผนงานสร้างกลไกใหม่ ในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลทายทางชีวภาพ (CBD) มาตรา 8(j) จะช่วยทำให้มีการส่งเสริมพื้นที่อนุรักษ์ ฟื้นฟู ต่าง ๆ ให้ความเคารพในการทำงานร่วมกันผ่าน NBSAP เรียกร้องให้มีพื้นที่แลกเปลี่ยนกันมากขึ้น เราจะสร้างพื้นที่พูดคุยกันแบบนี้มากขึ้น ความหลากหลายทางภาษา และธรรมชาติ สร้างศักยภาพแบบบูรการ การมีส่วนร่วมของเยาวชน สตรี ในความหลากหลายทางชีวภาพ เคารพในการจัดการ เคารพในสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง กลไกอย่างอื่นที่เกียวกับสิทธิมนุษยชน กฎหมายให้สอดคล้อง ช่วยเหลือทางด้านเทโนโลยี ให้เหมาะสม”
จากการเรียกร้อง นำข้อเสนอแนะ ข้อกังวลที่ ชนเผ่าพื้นเมืองเสนอต่อการประชุมรัฐมายาวนานแล้วนั้น หว่างเป็นอย่างยิ่งว่าสักวันหนึ่ง รัฐภาคีทั้งหลายจะให้การยอมรับชนเผ่าพื้นเมือและชุมชนท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญที่สร้างการมีส่วนร่วม และให้การเคารพในสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในการเข้าถึงกระบวนการตัดสินใจ ได้รับการปกป้องในองค์ความรู้ชนเผ่าพื้นเมือง ภาษา อาชีพตามประเพณี ที่ดินและทรัพยากร ร่วมถึงการได้รับผลประโยชน์ที่เป็นธรรม ตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพอย่างแท้จริง ในการแสวงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดต่อผู้แทนรัฐภาคี มิใช่คอยหลบที่จะพบเจอกัน จากนั้นเมื่อกลับมาสู่ระดับชาติ ระดับท้องถิ่นต้องร่วมกันทำความเข้าใจและผลักดันเป้าหมายต่าง ๆ ร่วมกับรัฐอย่างใกล้ชิดต่อไป