โดย อุดม เจริญนิยมไพร (PASD)

          ได้มีโอกาศเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคี (Conferenc Of Parties : COP)ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 16 (Convention on Biological Diversity (CBD COP16) ที่เมือง คาลี ประเทศโคลอมเบีย  ระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม -27พฤศจิกายน 2567  ในฐานนะที่เป็นตัวแทนชนเผ่าพื้นเมือง และชุมชนท้องถิ่น ( Indigenous Peoples and Local Communities (IPLC) จากประเทศไทย ที่ได้รับการสนับนุนงบประมาณจาก Forest People Programme : FPP  มีผู้เข้าร่วมจากรัฐภาคี มากกว่า 190 ประเทศ และผู้ร่วมจกหน่วยงานองค์กรต่าง รวมทั้งผู้แทนจากชนเผ่าพื้นเมือและชุมชนท้องถิ่น รวมทั้หมด กว่า 15,000  คน  จะนำเสนอกระบวนการเข้าร่วมประชุมเวที CBD-COP16 เพื่อให้ได้รับทราบและทำการศึกษาเรียนรู้ต่อไป

          การประชุม COP -CBD เป็นเวทีใหญ่ระหว่างรัฐภาคีที่ได้ลงนามรับรองอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ(CBD) จัดประชุมขึ้นทุก 2 ปี แต่ละครั้งการประชุมจะใช้เวลาประชุมเป็นอาทิตย์ ที่ทำงานหนักรัฐบาลที่ได้รับบทบาทเป็นเจ้าภาพจะมีการเตรียมพร้อมทั้ง สถานที่จัดงาน ความอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย และการประสานงานระหว่างสำนักเลขาธิการCBD อย่างหนักเป็นปี (แต่ถือว่าเป็นเกียรต) ประเทศเจ้าภาพจะมีข้อยกเว้นชำระค่าวีซ่าเข้าประเทศเอื้อต่อการอนุมัติวีซ่า ให้กับผู้เข้าร่วมประชุม จัดเตรียมอาสาสมัครที่คอยเอื้ออำนวยตั้งแต่ ในสนามบิน และทุกที่ในงาน เตรียมพื้นที่ห้องประชุมย่อย ร้านขายอาหาร ซุ้มจัดนิทรรศการของแต่ละประเทศ แต่ละหน่วยงาน  เมื่อถึงวันประชุม แต่ละประเทศจะนั่งตามป้ายประเทศจัดเรียงตามลำดับอักษรของแต่ละประเทศ และในส่วนของ ชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น (IPLC) , NGOs, หน่วยงานระดับนานาชาติที่ทำงานด้านทรัพยากรธรรมชาติความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม ต่าง ๆ  ได้มีการจัดที่นั้งไว้ให้อยู่  พิธีการเปิดการประชุม  ผู้นำประเทศเจ้าภาพดำเนินการเปิดการประชุม และได้ให้ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศของตนเองร่วมมีบทบาทในการเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ก่อนรับบาลจะเปิดงาน

          การประชุม มีประธานประชุม และเลขา  ประธานดำเนินการควบคุมประเด็นและวาระการประชุม คณะเลขาบันทึกการประชุม รัฐบาลจะมีบทบาทในการนำเสนอประเด็นเนื้อหา และข้อโต้แย้งก่อน ส่วนชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น(IPLC) จะอ่านคำแถลงการณ์(statement) ที่ผ่านความเห็นในที่ประชุมเวทีประชุมชนเผ่าพื้นเมืองนานาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ(พูดลำดับท้าย ๆ เคยมี กรณีชนเผ่าพื้นเมืองไม่ได้พูด ก็ได้ประท้วงประธาน การพูดในเวลาจำกัดสร้างความกดดันพอสมควร การเตรียมการอาจจะมีการแบ่งกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อเตรียมเนื้อหาในข้อความที่เป็นภาษาที่ตรงกับอนุสัญญาว่าด้วยควาหลักหลายางชีวภาพ(CBD)

          การจัดเตรียมเอกสาร/ข้อมูลล่วงหน้าก่อนการประชุมจัดทำโดยสำนักเลขาธิการ CBD ยกร่างเอกสารการประชุมแล้ว ได้ป้อนลงในWebsite CBD  ให้ทุกคนสามารถอ่านได้แล้ว เมื่อมีการประชุมและมีแต่ละประเทศให้ความเห็นร่วมหรือแย้งกันอย่างไรข้อความใด บรรทัดที่เท่าไหร่ จะมัให้มีการเปรียบเที่ยบ เลขาธิการจะสรุปและวางเอกสารให้ผู้เข้าร่วมได้ศึกษา ก่อนจัดทำเอกสารฉบับสุดท้าย

          ประชุมคณะที่ปรึกษาทางเทคนิคและวิทยาศาสตร์(The Subsidiary Body on Scientific Technical and Technological Advisee : SBSTTA )จะประกอบไปด้วย ตัวแทน ตัวแทนรัฐ องค์กรต่าง ๆ ผู้สังเกตการณ์

          รัฐบาลจะส่งผู้เชี่ยวชาญประชุมและยกร่างข้อเสนอแนะให้รัฐภาคีสมาชิกได้พิจาณาใน(COP) ดังนั้นเราสามารถที่จะผลักดัน ประเด็นของเราผ่านการประชุม SBBSTA ได้อีกช่องทางหนึ่ง

ประชุมรัฐภาคี

          จากข้อมูลสมบูรณ์ที่สำนักเลขาธิการ CBD มีการหล่อมรวมข้อมูลมากมาย ซึ่งผู้แทนรัฐภาคีจะอ่านดูแต่ละวรรค แต่ไม่ได้หมายความว่า รัฐภาคีจะรับทั้งหมด รัฐภาคีอาจจะตัดออกก็ได้ แต่ละกลุ่มป้องกันไม่ให้ข้อเสนอของเขาไม่ให้ถูกลบ รัฐภาคีจะรับข้อเสนอกว้าง ๆ ไปก่อนจากทุกประเทศ บางประเทศจะแจ้งว่าเขาทำอะไรไปแล้วบ้าง ประธานจะพิจารณาเอกสารแต่ละวรรค (paragraph) ผู้เข้าร่วมจะต้องสนใจว่ารัฐบาลเขาคุยเรื่องใหน โดยทั่วไปเขาจะไม่ย้อนกลับมาเมื่อประเด็นผ่านไปแล้ว  เอกสารจะเสนอกลับมาที่คณะทำงาน (WG )   ให้เห็นว่ามีคนเสนอต้องเพิ่มอย่างไร

          ประเด็นที่ไม่สามารถยอมรับข้อตกลงร่วมกันได้ จะมีการวงเล็บไว้ ( ) ประธานจะให้มีการประชุมในรูปคณะทำงาน (Working Group1,2) และ คณะติดตามเฉพาะประเด็นนั้น(Contact Group1,2,3…) หลายคณะ ประชุมกันจนกระทั้งรัฐภาคียอมรับทั้งหมดให้ COP  (พิจารณารูปแบบเป็นฉันทามติ ซึ่งไม่นิยมยกมือเพื่อนับผลคะแนน) ถ้าเนื้อหาที่ได้ถกเถียงกัน ประธานจะถามประเทศที่ขัดแย้งกันว่าจะยอมหรือไม่ยอม ถ้าไม่ยอมเขาจะใส่วงเล็บปิดไว้ จากนั้นประธานพยายามที่จะไกล่เกลี่ย กับประเทศที่ความเห็นไม่ตรงกัน จนกว่าอีกประเทศหนึ่งจะยอม (บางครั้งจะพักการประชุมชั่วคราวเพื่อให้ผู้แทนประเทศที่ไม่ลงกันได้เข้าไปพูดคุยเจรจากันได้)

ชนเผ่าพื้นเมืองมีอิทธิพลในการไขเอกสารอย่างไร

          การเตรียมความพร้อมในเวทีชนเผ่าพื้นเมืองนานาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ(IIFB) ประชุมร่วมกันทุกเช้าก่อนให้การเข้าร่วมประชุมมีประสิทธิภาพมากที่สุด การเข้าร่วมประชุมกับภาครัฐ ได้ข้อตกลงจะให้ตัวแทนจะต้องพูดในนาม ชนเผ่าพื้นเมือง(IPLC) ทั้งหมด จะต้องวางแผนจุดยืน ประสานความร่วมมือ ซึ่งบางครั้งชนเผ่าพื้นเมืองอาจจะต่างกันอยู่  ในการการประชุม IIFB จากการรวมตัวของชนเผ่าพื้นเมืองจากภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกมาร่วมมากกว่า ร้อยคน โดยปกติการประชุม CBD จะให้ชนเผ่าพื้นเมืองทำแถลงการณ์ในพิธีเปิดด้วย ชนเผ่าพื้นเมืองสามารใส่คำพูดความเห็นได้ ในประเด็นที่เป็นห่วงข้อกังวล

การสร้างพันธมิตรกับรัฐบาล

          การเข้าหาผู้แทนรัฐบาล ประสานการประนีประนอม และหว่านยล้อมทำความเข้าใจกับผู้แทนรัฐบาลบางประเทศ ด้วยเหตุผลข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม เพื่อจะให้ผู้แทนภาครัฐได้ให้การสนับสนุนประเด็นชนเผ่าพื้นเมือง แต่ถ้ารัฐแสดงอาการไม่ยอมรับ ผู้แทนชนเผ่าพื้นเมืองได้ทำการประท้องออกมาทั้งต่อหน้าเวทีและสื่อก็มีมาแล้ว

การจัดเวทีคู่ขนาน (Side event)

          ในงานจะเปิดเวทีเพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล ในเวทีคู่ขนาน (Side Event) ในประเด็นต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้จัดจะต้องแจ้งโปรแกรมล่วงหน้า เนื้อหา วันที่ เวลา ห้องสถานที่จัดเวทีที่ชัดเจน  เพื่อชักชวนผู้เข้าที่สนใจ ผ่านเวที หรือใบชักชวน ผู้จัดเวทีคู่ขนานได้จัดเตรียมอาหารว่าง และนำเสนอ แลกเปลี่ยน หรือมีเอกสารที่เกี่ยวข้องแจกจ่ายแก่ผู้สนใจ

          สรุป การเข้าร่วประชุม COP-CBD เป็นเวทีระดับโลกที่มีการเต็มไปด้วยการเจรจา ต่อรอง และนำเสนอเนื้อหา ประเด็น ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ จุดยืน ข้อกังวล จากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐภาคี องค์กรหน่วยงานระดับนานาชาติ และชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลก สตรี เยาวชน องค์กรพัฒนาเอกชน เป็นพื้นที่ตลาดวิชาที่ใครสนใจเนื้อ ประเด็นอะไรสามารถร่วมและเปลี่ยน และเก็บเกี่ยวเพื่อนำมาประยุคใช้กับงานของตนเองได้ตีขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับเนื้อหาประชุม CBD-COP16 จะได้นำเสนอให้ในภาคต่อไป