เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 ดร.ประเสริฐ ตระการศุภกร (ผู้อำนวยการ สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน / PASD) และคณะ ได้เข้าร่วมงาน อนุรักษ์ป่าต้นน้ำและพันธุ์สัตว์ป่าแบบพื้นบ้าน (บวชป่า) ชุมชนบ้านป่ากล้วย บ้านแม่หยอด บ้านแม่ราจี พวกเราขอขอบพระคุณท่านนายอำเภอแม่แจ่มอย่างมาก ที่ให้สำคัญมาเป็นประธานในพิธีครั้งนี้ กระผมขอรายงานว่าหมู่ 9 ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนชาวกะเหรี่ยง(ปกาเกอะญอ) ที่ตั้งที่อยู่อาศัยมานานกว่า 200 ปี และชาวปกาเกอะญอได้มีอาชีพทางการเกษตร หรือทำไร่ระบบไร่หมุนเวียน และด้วยวิถีชีวิตที่พึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
จึงได้มีการสะสมประสบการณ์ ผลึกออกมาเป็นองความรู้ ภูมิปัญญา ปรัชญา ตำนาน คำสอน เรื่องเล่า ได้ถ่ายทอดจากรุ่นสุ่รุ่น และได้สำนึกในเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชนอย่างเป็นระบบ จึงได้คิดหาวิธีการ กิจกรรม ที่เป็นแนวทางการจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบพื้นบ้าน ที่ชุมชนให้ความเชื่อถือ และพิธีกรรมทางศาสนา คือการบวชป่าของศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ โดยมีพื้นที่อนุรักษ์บวชป่า มี 2 จุด คือ 1. สะกึโข่ 2.บ่อ แฮะคี จำนวนเนื้อที่ป่าประมาณ 1,327ไร่ ได้ดำเนินงานวันที่ 25 มกราคม 2567โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำมีความอุดม สมบูรณ์
2.เพื่อฟื้นฟูภูมิปัญญา วัฒนธรรม ความเชื่อของชุมชนชาวปกาเกอะญอ ที่มีต่อการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม
3. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างชาวบ้าน และหน่วยงานในพื้นที่ เช่น ราชการ องค์กรเอกชน ร่วมกับชุมชน
ด้วยเจตนาอันดีของชาวบ้านแม่หยอด – บ้านป่ากล้วย และองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ศึก ร่วมกับหน่วยงานที่ดำเนินงานในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ, เอกชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน ต่าง ๆ ได้ประสานความร่วมมือ และสนับสนุนกิจกรรมในโครงการดังกล่าวนี้ให้ได้ดำเนินการและบรรลุวัตถุประสงค์ ตามที่ตั้งไว้อย่างแท้จริง