ช่วงนี้สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยีั่งยืน(PASD) ได้เข้าพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำแม่ลิดขแม่ลาย ลุ่มน้ำบ้านแปะ ลุ่มน้แม่ลานคำขแม่โต๋ เพื่อทำความเข้าใจโครงการ“การอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วม ”(Inclusive Conservation Initiative – ICI) กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF)
ได้จัดตั้งกองทุนเฉพาะขึ้นมากองทุนหนึ่ง (GEF-7) สำหรับส่งเสริม “การอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วม” (Inclusive Conservation Initiative – ICI) ให้แก่ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในการดูแลและรักษาระบบนิเวศน์ รวมทั้งสร้างการยอมรับบทบาทของชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเน้นกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับภาคีหุ้นส่วนภาคต่างๆ เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและชุมชน
วัตถุประสงค์หลักของกองทุน ICI คือ การหนุนเสริมกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน น้ำ ป่าของชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น ที่ส่งผลต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับสากล
เป้าหมายหลัก คือ ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ในพื้นที่ภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างน้อย 3.6 ล้านเฮคตาร์ หรือ 22.5 ล้านไร่) โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีระบบนิเวศน์ที่เปราะบาง
วิธีการดำเนินงาน ทางกองทุนจะสนับสนุนงบประมาณการทำกิจกรรม การพัฒนาศักยภาพ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้/ประสบการณ์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรระหว่างชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ได้รับการยอมรับและมีบทบาทในการตัดสินใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทุกระดับ
กองทุนนี้ทางองค์กรเพื่อการอนุรักษ์ระหว่างประเทศ หรือ Conservation International (CI) และ สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ International Union for Conservation of Nature (IUCN) ได้ร่วมกันพัฒนาตัวกรอบแนวคิดเสนอต่อกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกเพื่อดำเนินกิจกรรมดังกล่าว หลังจากที่กรอบคิดดังกล่าวได้รับการพิจารณาอนุมัติแล้ว ทาง CI และ IUCN ได้ประกาศและคัดเลือกองค์กรและภาคีหุ้นส่วนจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกให้มาร่วมกันดำเนินการทำโครงการดังกล่าว โดยมีพื้นที่กระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย โดยมีมูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (IPF) ร่วมกับสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขา (IMPECT) สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (PASD) มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์ (WISE) และ สมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์ (ECHA) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการย่อยนี้ร่วมกัน
พื้นที่การดำเนินงานในส่วนของประเทศไทยนั้นครอบคลุมพื้นที่ของชนเผ่าพื้นเมือง (กลุ่มชาติพันธุ์) ทั้งหมด 77 ชุมชน 7 กลุ่มชาติพันธุ์ คือ กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน ลีซู ละหู่ อ่าข่า และมานิ โดยกระจายอยู่ใน 5 ลุ่มน้ำหลัก 21 ลุ่มน้ำย่อย 2 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย และภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ ตรัง สตูล พัทลุงและสงขลา)